วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555

บันทึกสิ่งที่ได้จากการเข้าเรียน



วิดีโอ โททัศน์ครู

ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น(ถิ่นวิทยาคาร)

http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3438

คุณครูไพพรจะสอนในการปฏิบัติจริงไปสถานที่จริง ได้ไปดูผลไม้ของจริง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้และมีการให้เด็กๆได้ซักถามสิ่งที่เด็กๆอยากรู้ เด็กๆก็ได้รับประสบการณ์ตรง เด็กๆมีความกล้าแสดงออก กล้าซักถาม และนำประสบการณ์ตรงมาให้เด็กๆถ่ายทอดลงในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ปรากฎว่าเด็กเรียนรู้ได้เร็ว เป็นการบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก เข้าด้วยกัน 1.เคลื่อนไหวและจังหวะ 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 3.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555

ฐานกิจกรรม ขั้วเหมือนผลัก-ขั้วต่างดูด

อุปกรณ์  แม่เหล็ก , ช้อน-ซ่อม , กรรไกรตัดเล็บ ก้อนหิน , ลูกกุญแจ , กิ๊บ กล่องเหล็ก , คริปหนีบกระดาษ , กำลัยแขน , กระจกพลาสติก , กระดาษ , ไม้บรรทัดพลาสติก , ไม้บรรทัดเหล็ก



ขั้วต่างดูด

ขั้วเหมือนผลัก

สิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้  มีดังนี้  ช้อน-ซ่อม , กรรไกรตัดเล็บ , ลูกกุญแจ , กิ๊บ กล่องเหล็ก , คริปหนีบกระดาษ , กำลัยแขน  , ไม้บรรทัดเหล็ก

จากกิจกรรมพบว่า สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ มีดังนี้  ก้อนหิน, กระจกพลาสติก , กระดาษ , ไม้บรรทัดพลาสติก


ใช้คำถามก่อนการสาธิตทดลอง

ให้เด็กๆทดลองทำด้วยตัวเอง

สาธิตและอธิบายถึงขั้วแม่เหล็ก ขั้วเกมือนผลัก-ขั้วต่างดูด

ที่ปั้ม
เมื่่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จก็จะประทับตราแสดงว่าเข้าฐานนี้แล้ว

แสดงว่าเด็กเข้าร่วมครบทุกฐาน
สมาชิก
1. นางสาวรัชฏาภรณ์ ฤาชา
2. นางสาวนฎา หาญยุทธ
3. นางสาวบวัญชนก  เจริญผล
4. นางสาวศิริวรรณ เสากำปัง

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 11 กันยายน 2555

บันทึกความรู้ที่ได้รับจากการเข้าเรียน



กิจกรรมวิทยาศาสตร์

ขั้วต่างดูด  ขั้วเหมือนผลัก
วัสดุ-อุปกรณ์
         -  แม่เหล็ก
         - วัสดุที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ เช่น  คลิปหนีบกระดาษ  ไม้บรรทัดเหล็ก  ลูกกุญแจ  ตะปู  เป็นต้น
         - วัสดุที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้  เช่น  ก้อนหิน  ดินสอ  ไม่จิ้มฟัน  เป็นต้น

แนวคิด
                แม่เหล็กเป็นของแข็งชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดึงดูดสารบางชนิดได้ โดยทั่วไป แม่เหล็กมี 2 ขั้วคือ ขั้วเหนือ กับขั้วใต้  โดยกฎของแม่เหล็กคือ ขั้วต่างกันดูดกันและขั้วเหมือนกันผลักกัน

วิธีทดลอง
                ให้เด็กๆเลือกวัสดุที่เตรียมไว้ให้  และทดลองโดยการนำแม่เหล็กมาดูดและสามารถบอกได้ว่า วัสดุไหนที่แม่เหล็กดูดได้ และวัสดุไหนที่แม่เหล็กดูดไม่ได้


**งานที่ได้รับมอบหมาย**

- จัดกิจกรรม วัน อังคาร ที่ 18 กันยายน 2555
       - เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
       - ทำป้ายแขวนคอเด็ก
       - ใช้เวลาฐานละ 15 นาที

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 4 กันยายน 2555

- ส่งบรอดที่นักศึกษาส่งมาเป็นกลุ่ม

สมาชิก
1.นางสาวรัชฎาภรณ์ ฤาชา
2.นางสาวจุฑาทิพย์ กันชัย
3.นางสาวทิพากร พลเยี่ยม

- ส่งสมุดเล่มเล็ก( ขั้นตอนการทำดอกไม้-ใบไม้ )กลุ่ม 3 คน

สมาชิก
1.นางสาวรัชฎาภรณ์ ฤาชา
2.นางสาวจุฑาทิพย์ กันชัย
3.นางสาวทิพากร พลเยี่ยม
 
 - ส่งการทดลองวิทยาศาสตร์กลุ่ม 4 คน


กิจกรรมดูสีเต้นระบำ
  แนวคิด
                แรงตึงผิวเป็นคุณสมบัติของของเหลว (เป็นแรงที่เกิดขึ้นบริเวณที่ผิวของของเหลวสัมผัสกับของเหลวอื่นหรือผิวของแข็ง) เมื่อใส่สารลดรงตึงผิวเพียงเล็กน้อยในของเหลว  สารลดแรงตึงผิวจะไปลดแรงตึงผิวของของเหลว เพื่อให้เกิดกระบวนการต่างๆง่ายขึ้น  เช่น  การเกิดฟอง  การทำให้เปียก  และกระบวนการทำความสะอาด เป็นต้น

 วัสดุ-อุปกรณ์
        -  จาน
        - นมสด
           - สีผสมอาหาร
           - น้ำยาล้างจาน
           - หลอดหยด

ขั้นตอน
1. เทนมลงในจาน  วางทิ้งไว้ให้นมนิ่งๆ
2.หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ1หยด
3. หยดน้ำยาล้างจานลงบนสีผสมอาหารทีละ1หยด หรือใช้ cotton bud ชุบน้ำยาล้างจานจุ่มลงไปตรงกลางสีที่หยดไว้ (ซึ่งสามารถหยดน้ำยาล้างจานลงไปได้เรื่อยๆ)  และสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง

 สรุป
   - เมื่อหยดสีลงในนม ลักษณะของสีจะเป็นหยดๆไม่มีการกระจายตัว เพราะว่าน้ำนมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้
  - เมื่อหยดน้ำยาล้างจาน ซึ่งมีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวลงไปในน้ำนม  จึงทำให้สีที่อยู่ในน้ำนมกระจายตัวและสามารถวิ่งได้ในส่วนที่มีแรงตึงผิวลดลง



-บันทึกความรู้ที่ได้จากการเข้าเรียน



**งานที่มอบหมาย**

- กลุ่ม 4 คน แบ่งได้ 9 กลุ่ม จัดกิจกรรมโดยมีหัวข้อดังนี้
- จับฉลากเลือกหัวข้อ
- เขียน  1. ตั้งชื่อกิจกรรมเก๋ๆ , อุปกรณ์
             2. แนวคิด , วิธีการดำเนินกิจกรรม
             3. ทำป้ายแขวนคอเด็ก
- ดูเรื่องวิทยาศาสตร์ในโทรทัศน์ครู ดึงมา 1 เรื่อง ตอบคำถามว่า นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอย่างไรได้

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555

- จัดบรอด กลุ่มละ 3 คน
                                                         

สมาชิก
1.นางสาวรัชฎาภรณ์ ฤาชา
2.นางสาวทิพากร พลเยี่ยม
3.นางสาวจุฑาทิพย์ กันชัย

บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555

ภาพผลงานที่ได้จากการอบรม

ทำดอกพุทธรักษาและจัดเรียง

ทำดอกกุหลาบจากกระดาษทิชชู

จัดดอกกุหลาบเป็นช่อ

สมาชิก
1.นางสาวรัชฎาภรณ์ ฤาชา
2.นางสาวจุฑาทิพย์ กันชัย
3.นางสาวทิพากร พลเยี่ยม

บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555

- ประดิษฐ์ดอกไม้

ทำดอกมะลิ